
ด้วยเงินเพียงไม่ถึง 2 หมื่นบาท จะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องไหนก็ได้ โดยไม่ต้องคิดอะไรมากนักแต่เงินเป็นหมื่นนั้นก็ไม่ใช่น้อยสำหรับใครหลายคน อีกทั้งเทคโนโลยีต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องรู้ถึงวิธีการเลือกซื้อที่ถูกต้องและเหมะสมตรงกับลักษณะงานที่จะนำไปใช้ และพร้อมสำหรับทำงานร่วมกับอุปกรณ์ใหม่ๆ ที่จะตามมาในอนาคต โดยที่ไม่ต้องอัพเกรดหรือซื้อเครื่องใหม่ก่อนเวลาอันควร เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าที่สุด ดังนั้นเมื่อตั้งใจว่าจะหาซื้อคอมพิวเตอร์ซักเครื่องมาใช้งาน สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ ถามตัวเองก่อนว่าต้องการนำเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นไปใช้งานอะไรเป็นหลัก เช่น ใช้เล่นเกมส์ , ใช้ออกแบบงานกราฟิกประเภทสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่อโฆษณาต่างๆ, ใช้ออกแบบงานกราฟิกขั้นสูงประเภทที่ต้องแสดงผลในรูปแบบ 3 มิติ หรืองาน 3D Animation, ใช้ตัดต่อหนังหรือไฟล์ภาพยนตร์, ใช้ดูหนัง ฟังเพลงแบบธรรมดาหรือระดับโฮมเธียเตอร์, ใช้พิมพ์งานเอกสารและงานในสำนักงานต่างๆ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปอย่าง Microsoft Office หรือใช้ท่องอินเทอร์เน็ตเพียงอย่างเดียว เป็นต้น ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างของลักษณะงานแต่ละแบบเพื่อค้นหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับแต่ละประเภท
ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่วางขายอยู่ตามท้องตลาด
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่วางขายอยู่ตามท้องตลาด โดยทั่วไปจะสามารถแบ่งออกได้กว้างๆ เป็น 2 ประเภท คือ คอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ (Brand) ที่นิยมขายเป็นชุด (Computer Set) กับแบบเลือกซื้อชิ้นส่วนแต่ละชิ้นแล้วจ้างหรือประกอบเป็นชุดขึ้นเอง จริงๆ แล้วทั้ง 2 แบบก็ใช้งานได้ดีเหมือนๆ กัน อุปกรณ์ภายในก็ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ต่างกันตรงที่แบบแรกนั้นประกอบเสร็จมาแล้วจากโรงงานพร้อมใช้งานได้เลย กับแบบที่ 2 ต้องเลือกซื้อหาชิ้นส่วนให้ครบก่อนแล้วจำนำมาประกอบเองหรือจ้างประกอบ โดยจะสามารถใช้งานได้ทันทีเลยหลังจากประกอบเสร็จแล้ว หรือไม่ก็ขึ้นกับขั้นตอนการประกอบและความสมบูรณ์ของตัวอุปกรณ์
คอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อที่นิยมขายเป็นชุด (Computer Set)
เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการความสะดวกไม่ต้องมาจุกจิกกวนใจเรื่องการเลือกซื้อชิ้นส่วนอุปกรณ์มากนัก โดยทั่วไปเวลาไปซื้อคอมพิวเตอร์แบบนี้ จะมีรายละเอียดสเปคของเครื่องอย่างคร่าวๆ ให้ดู เช่น ใช้ซีพียูรุ่น, ความเร็วเท่าไหร่, RAM ชนิดอะไร, Hard Disk ความจุเท่าไหร่ และอื่นๆ รวมถึงของแถมว่ามีอะไรบ้าง
คอมพิวเตอร์ยี่ห้อต่างๆ ที่มีวางขายอยู่ทั่วไปในบ้านเรา เช่น ยี่ห้อ Acer, HP, Lenovo, SVOA, VZiO, Supreme, SPIRIT และ ITRON เป็นต้น
คอมพิวเตอร์แบบเลือกซื้อชิ้นส่วนเพื่อนำมาจ้างหรือประกอบเอง
คอมพิวเตอร์แบบนี้จะเหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการความพิถีพิถันในการเลือกชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่จะนำมาประกอบเป็นตัวเครื่องทั้งหมดได้ด้วยตัวเอง เพื่อให้ได้เครื่องที่มีสเปคตรงตามความพอใจของเรามากที่สุดซึ่งในการเลือกซื้อนั้นอันที่จริงผู้ใช้ควรจะต้อมีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับเรื่องของชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อยู่บ้าง แต่ปัจจุบันนี้ถึงแม้ไม่ชำนาญ ทางร้านก็จะมีบริการเลือกและจัดชุดคอมพิวเตอร์ให้เสร็จสรรพเรียบร้อย เพียงแต่ผู้ซื้อบอกความต้องการให้ทางร้านรู้เพียงเล็กน้อยว่าต้องการอย่างไร พร้อมทั้งบอกจำนวนเงินที่ผู้ซื้อตั้งงบไว้ แค่นี้ทางร้านก็จะแนะนำอุปกรณ์ต่างๆ ให้ผู้ซื้อเลือก หรือถ้าให้ง่ายกว่านั้นทางร้านก็จะเลือกและจัดชุดคอมพิวเตอร์ให้ตามงบที่ผู้ซื้อตั้งไว้
การเลือกซื้อซีพียู (CPU)

Intel หรือ AMD
ก่อนที่จะเลือกรุ่นของซีพียู สิ่งแรกที่จะต้องเลือกก็คือ Intel หรือ AMD ซึ่งเป็นอันดับแรกที่จะต้องตัดสินใจก่อนที่จะเลือกองค์ประกอบอื่นๆ ต่อไป ชื่อเสียงของ Intel คงเส้นคงวามาตลอด แต่ก็ถูก ส่วน AMD แซงไปในช่วงของ 64 บิต และ Dual Core ที่ AMD ออก Athlon 64 X2 มาก่อน ซึ่งเป็นซีพียูที่มีประสิทธิภาพดีและไม่มีปัญหาเรื่องความร้อน แต่อย่างไรก็ตามวันที่ Intel ออก Core 2 Duo มาก็ทำให้สถานการณ์พลิกกลับไปเป็นว่าซีพียูของ Intel มีความเร็วสูงสุดในการประมวลผลแทบทุกอย่าง ซึ่งในที่สุด AMD ก็ยังคงใช้กลยุทธ์ของการตัดราคาเพื่อให้ซีพียูของ AMD มีราคาต่อประสิทธิภาพ (Price / Performance) ต่ำที่สุดเสมอ
สรุป
เลือก AMD ถ้าต้องการประสิทธิภาพที่คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป และเลือก Intel ถ้าสนใจเรื่องชื่อยี่ห้อหรือไม่ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพใดๆ
การเลือกซื้อเมนบอร์ด (Mainboard)
ปัจจัยการเลือกซื้อ Main board (เมนบอร์ด) นั้น ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับการเลือกใช้อุปกรณ์ที่คุณต้องการนำมาใช้งานเป็นหลักโดยส่วนที่สำคัญมากในการ เลือก Main board (เมนบอร์ด) นั่นก็คือ ซีพียูนั่นเองครับ ยกตัวอย่างถ้าคุณต้องการใช้งานซีพียูของทางค่าย AMD ไม่ว่าจะเป็น Athlon XPหรือ Duron ก็ตามคุณก็ต้องเลือกซื้อ Main board (เมนบอร์ด) ที่รองรับการ ทำงานของซีพียูที่เป็นแบบ Socket A หลังจากนั้นก็เป็นในส่วนของหน่วยความจำว่าจะเลือกใช้แบบไหน DDR-SDRAMหรือ SDRAM ( DDR SDRAM เพื่ออนาคตที่สดใสกว่า)หรืออาจจะใช้ทั้ง DDR-SDRAM และ SDRAM ก็ได้คุณก็ต้องเลือกซื้อ Main board (เมนบอร์ด) ที่สนับสนุนการทำงานกับหน่วยความแบบดังกล่าว เป็นต้น ใน Main board (เมนบอร์ด) บางรุ่นจะนำระบบเสียงหรือระบบประมวลผลภาพ(VGA)ไว้ในตัว ดังนั้น คุณอาจไม่จำเป็นต้องเลือกซื้ออุปกรณ์ทั้งสองประเภทนี้ ในขณะที่ Main board (เมนบอร์ด) บางรุ่นก็จะรวมเอา LAN (local area network) ไว้ในตัวด้วย ทำให้คุณไม่ต้องเสียเงินซื้อการ์ดเน็ตเวิร์กสำหรับใช้ท่องโลกอินเทอร์เน็ต (เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีงบซื้อจำกัด) แต่ถ้าใน Main board (เมนบอร์ด) ที่คุณเลือกซื้อไม่มีอุปกรณ์ดังที่กล่าวในตัว คุณก็จำต้องจ่ายเงินเพิ่ม เพื่อซื้ออุปกรณ์ต่างๆ เหล่านั้นทีหลัง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ ราคาแล้วบางทีก็แพงกว่าการซื้อแบบรวมเสียอีกแต่ประสิทธิภาพจะไม่ดีเท่ากับอุปกรณ์ที่แยกชิ้นประกอบอย่างไรก็ตามเมื่อจะ ซื้อ Main board (เมนบอร์ด) ให้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ ของคุณแล้วก็ต้องดูให้ระเอียดกันหน่อย อย่านิยมเลือกเอาแต่ประหยัดอย่างเดียว การใช้งานคอมพิวเตอร์สำคัญที่สุด ถึงแม้เมนบอร์ดจะเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สำคัญ แต่ราคาของเมนบอร์ดนั้นไม่ได้มีราคาแพงมากมายนักรวมถึงยังมีให้เลือกใช้มากมายหลายรุ่นตามความเหมาะสมของผู้ใช้ โดยเมนบอร์ดราคาประหยัดเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณพันกว่าบาท และไต่ระดับไปถึงช่วงราคาสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานระดับกลางที่ 3,000-5,000 บาท หลังจากนั้นถือเป็นราคาสำหรับผู้ใช้งานระดับสูงที่ราคาสูงทะลุหมื่นบาทไปเลยทีเดียว โดยบริษัทผู้ผลิตเมนบอร์ดที่ได้รับความนิยม หรือพูดง่ายๆ ก็คือแบรนด์เนมของเมนบอร์ดติดตลาดผู้ซื้อ ก็เห็นจะมี ASUS, ABIT, GIGABYTE , MSI, ASROCK คุณสมบัติที่สำคัญของเมนบอร์ดในปัจจุบันที่ต้องพิจารณาก่อนทำการเลือกซื้อนั้นนอกเหนือจากราคาที่ผู้ใช้ต้องเป็นผู้กำหนด อาทิ ความยืดหยุ่นในการรองรับการทำงานของระบบฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีที่สนับสนุนการทำงาน ช่องสัญญาณในการรองรับการใช้งาน อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ ที่มาพร้อมกับตัวเมนบอร์ด ทางที่ดีควรจะมีเอาไว้ก่อน และที่สำคัญนั้นก็คือการรับประกันที่คุณมิควรมองข้ามนั่นเอง
การเลือกซื้อชุดระบายความร้อนกับซีพียู
สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อชุดระบายความร้อนให้กับซีพียู ซึ่งประกอบด้วย พัดลมระบายความร้อน และฮีตซิงค์ ก็คือ วัสดุที่ใช้ทำฮีตซิงค์, การออกแบบครีบระบายความร้อน, ความเร็วรอบในการหมุนของพัดลมซีพียู และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ เป็นรูปแบบที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับซีพียู และซ็อคเก็ตแบบใด ซึ่งแต่ละแบบไม่เหมือนกัน
การเลือกซื้อหน่วยความจำ (RAM)
RAM เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง ซึ่งจะต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในการเลือกซื้ออยู่พอสมควร เนื่องจาก RAM เป็นอุปกรณ์ที่จะต้องทำงานร่วมกับซีพียูอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงจำเป็นจะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่างในการพิจารณาเลือกซื้อ เพื่อให้เหมาะสมสำหรับซีพียูและเมนบอร์ดที่ใช้ และยังควรคำนึงถึงคุณสมบัติต่างๆ ของRAM ได้แก่ ชนิดของ RAM, ขนาดความจุของ RAM, ความเร็วบัสของ RAM และการรับประกันอีกด้วย
การเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)
ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์มีขายกันอยู่มากมายหลายยี่ห้อ เช่น HITACHI, Samsung, Seagate และ Western Digital เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นที่นิยมทั้งสิ้น ดังนั้นนอกจากปัจจัยในเรื่องของราคาและยี่ห้อแล้วนั้นคุณสมบัติและข้อควรพิจารณาในการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์มีดังนี้ ได้แก่ ความจุของข้อมูล, ความเร็วรอบในการหมุน, อินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์, ขนาดของบัฟเฟอร์ และการรับประกันอีกด้วย
การเลือกซื้อการ์ดแสดงผล (VGA Card)
ปัจจุบันการ์ดแสดงผลมีออกมาหลายรุ่น หลายยี่ห้อ หลายราคา และหลากหลายประสิทธิภาพแตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จที่แท้จริงของเหล่าบรรดาการ์ดแสดงผลทั้งหลายนั้นก็คือ ผู้ผลิตชิปประมวลผลกราฟิกนั่นเอง ซึ่งมีอยู่แค่ 2 รายคือ NVidia ผู้ผลิต GeForce ที่หลายคนรู้จักกันดีกับ ATI (ที่ปัจจุบันเป็นของ AMD) ผู้ผลิตชิปตระกูล Radeon ที่เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ NVidia นั่นเอง ในการพิจารณาเลือกซื้อการ์ดแสดงผล นอกจากปัจจัยทางด้านราคาแล้วยังควรพิจารณาดังต่อไปนี้ ได้แก่ ชิปประมวลผลกราฟิก, อินเตอร์เฟสของการ์ด, ชนิดและขนาดของหน่วยความจำบนตัวการ์ด, พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ และมาตรฐานของ API ที่รอบรับ เป็นต้น
การเลือกซื้อการ์ดเสียง (Sound Card)

การเลือกซื้อลำโพง (Speaker)

การเลือกซื้อไดรว์ซีดีรอม และไดรว์ดีวีดี

คุณสมบัติ Dual Format, คุณสมบัติ Dual Layer หรือ Double Layer และเทคโนโลยีที่ช่วยในการเขียนแผ่น เป็นต้น
การเลือกซื้อจอภาพ

จอภาพหรือจอแสดงผล เป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่เราจะต้องติดต่อหรือเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลาผ่านทางดวงตาที่มีอยู่เพียงคู่เดียวของเรา ดังนั้นในการเลือกใช้จอภาพให้เหมาะสมกับงานและสุขภาพของดวงตาก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องทำควบคู่กันไปด้วย ดังนั้นหลักสำคัญหรือปัจจัยที่จะต้องนำมาพิจารณาเลือกซื้อจอภาพให้เกิดความคุ้มค่าและเหมาะสมมีดังนี้ ได้แก่ ชนิดของจอภาพ, ขนาดของจอภาพ, ความละเอียดของการแสดงผล (Resolution), อัตราการรีเฟรช (Refresh Rate), ระยะ Dot Pitch, ความสว่างบนหน้าจอ (Brightness), อัตราส่วนของความคมชัดของภาพ (Contrast Ratio) และขอบเขตของมุมมองในการมองภาพ (Viewing Angle) เป็นต้น
การเลือกซื้อการ์ดแลน (LAN Card)

การเลือกซื้อการ์ด Wireless LAN และ Access Point

เครือข่ายแบบไร้สายหรือ Wireless LAN (เรียกสั้นๆ ว่า “WLAN”) เป็นเครือข่ายที่อาศัยคลื่นวิทยุ (Radio Frequency) ในการรับส่งข้อมูล โดยเครื่องที่ติดตั้งการ์ด Wireless LAN ไว้จะรับส่งข้อมูลกับตัวรับหรือที่เรียกว่า Access Point ที่ต่อด้วยสาย LAN ธรรมดาเข้ากับเครื่องอื่นๆ อีกทอดหนึ่ง เกณฑ์ในการเลือกซื้อการ์ด Wireless LAN และ Access Point ได้แก่ มาตรฐานและอัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่ใช้ เป็นต้น
การเลือกซื้อ Modem ADSL / ADSL Router / ADSL Wireless Router

Modem เป็นอุปกรณ์สำหรับการสื่อสารข้อมูล ทั้งการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต รับส่งแฟกซ์ และอื่นๆ เป็นต้น หลักเกณฑ์ทั่วไปในการพิจารณาเลือกซื้อ Modem ทั้งแบบ Analog Modem และแบบ ADSL Modem โดยรวมๆ แล้วก็คล้ายๆ กัน มีดังนี้ ได้แก่ รูปแบบของ Modem และมาตรฐานความเร็วที่ใช้ เป็นต้น
การเลือกซื้อเคส (Case)

นอกจากเรื่องของรูปลักษณ์ภายนอกของตัวเคสที่ถูกออกแบบมาอย่างสวยงามและถูกใจเราแล้วข้อควรคำนึงถึงอื่นๆ ในการเลือกซื้อเคสที่เหมาะสม คือ
· พยายามเลือกที่ภายในดูโปร่ง กว้าง และสามารถถ่ายเทอากาศได้ดี มีช่องที่เอาไว้ติดตั้งพัดลมเพิ่มเติมภายหลังได้ หรือเคสที่มีพัดลมติดมาด้วย
· มีการออกแบบฝาเคสที่ดูแล้วสามารถเปิด – ปิดได้ง่าย เช่น ใช้สกรูแบบมือหมุน เป็นต้น
· เพื่อให้ง่ายและสะดวกในการประกอบเครื่อง แท่นรองเมนบอร์ดภายในเคสควรจะถอดออกได้
· ช่องเสียบอุปกรณ์จำพวกไดรว์ต่างๆ ควรจะออกแบบมาดี เช่น มีรางสำหรับรองไดรว์ต่างๆ ให้เลื่อนเข้า – ออก ได้อย่างสะดวก โดยไม่ต้องขันสกรูยึดกับตัวไดรว์โดยตรง เป็นต้น
· ฝาเคสด้านหน้าอาจจะปิด – เปิดได้ เพื่อความเรียบร้อย สวยงาม และความสะอาด
· มีพอร์ตต่างๆ เพิ่มเติมมาให้ที่ด้านหน้าหรือด้านข้างของตัวเคส เช่น USB และ Line Out Jack เป็นต้น เพื่อความสะดวกในการใช้งาน
· ตัวเครื่องภายนอกอาจจะออกแบบมาให้มีที่จับเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย
· พยายามเลือกเคสที่ใช้วัสดุที่ทำมาจากพลาสติก และมีโครงสร้างภายในที่แข็งแรง มีการแต่งขอบโลหะอย่างเรียบร้อยไม่บาดมือ
การเลือกซื้อเพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)

· เลือก Power Supply ที่ถูกต้องกับชนิด และความต้องการของเมนบอร์ด
· กำลังไฟ (วัตต์) หรือกำลังไฟสูงสุดที่ Power Supply สามารถจ่ายให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ได้เป็นสิ่งสำคัญในการเลือกซื้อ ให้พิจารณาจากจำนวนอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์, ซีดีรอมไดรว์, ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์, อุปกรณ์ต่อพ่วงผ่านทางพอร์ต USB และอื่นๆ ซึ่งถ้ากำลังไฟมากพอก็จะทำให้เครื่องมีเสถียรภาพในการทำงาน และสามารถจ่ายไฟให้หับอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นจึงแนะนำรุ่นที่ให้กำลังไฟตั้งแต่ 350 วัตต์ ขึ้นไป (ยิ่งถ้าเป็นเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ ที่ทำงานร่วมกับซีพียูรุ่นใหม่ๆ ถ้าเลือกตั้งแต่ 450 วัตต์ ได้ก็ยิ่งดี)
การเลือกซื้อ UPS

การเลือกซื้อเครื่องพรินเตอร์ (Printer)

การเลือกซื้อเครื่องสแกนเนอร์ (Scanner)

แหล่งที่มา : หนังสือคู่มือช่างคอม ฉบับสมบูรณ์ 2009
http://laptopcomputer.exteen.com/20090105/mainboard
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น