วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Pladao Office (ปลาดาว ออฟฟิศ)



Pladao Office (ปลาดาวอฟฟิศ)





ปลาดาว ออฟฟิศ (Pladao office) โปรแกรมปลาดาวออฟฟิศ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่บริษัท ซัน ไมโครซิสเต็ม ประเทศไทย ร่วมโครงการกับเนคเทค และได้ว่าจ้างกลุ่มผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ชั้นนำของ ประเทศไทยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเขียนขึ้นเป็นการพัฒนาต่อจากโปรแกรมโอเพนออฟฟิศ ซึ่งเป็น โอเพนซอร์สโปรแกรมที่มีต้นตอมาจากบริษัท ซัน ไมโครซิสเต็ม โดยเพิ่มความสามารถในการใช้ภาษาไทยไว้ในตัวซอฟต์แวร์นี้ด้วย

ปลาดาว ออฟฟิศ (Pladao office) คือ ชุดโปรแกรมสำนักงานที่รองรับการทำงานกับเอกสารภาษาไทย สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ และมีโปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processor) สร้างตารางคำนวณ (Spreadsheet) นำเสนองาน (Presentation) วาดภาพแบบเวกเตอร์ (Drawing) และโปรแกรมสมการคณิตศาสตร์ (Equation) ใช้ได้กับ 3 ระบบปฏิบัติการหลัก คือ Solaris, Linux, หรือ Windows นอกจากนี้ ปลาดาวมีคุณสมบัติการใช้งานเอกสารที่มาจากต่างระบบกันได้ (cross platform) ตัวอย่างจากการทดลองการใช้งาน ปลาดาวสามารถเปิดเอกสารที่สร้างขึ้นจาก Microsoft Excel หรือ Microsoft Word ขึ้นมาใช้ปรับปรุงแก้ไขได้

โปรแกรมหลักๆ ของ ปลาดาว ออฟฟิศ (Pladao office) มีดังนี้

1. Writer เป็นโปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processor) มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับ
MicrosoftWord
@@@
2. Calc เป็นโปรแกรมตารางคำนวณ (Spreadsheet) มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับ Microsoft Excel
@@@
3. Impress เป็นโปรแกรมนำเสนองาน (Presentation) มีลักษณะการใช้งานคล้ายกับ Microsoft PowerPoint
@@@
4. Draw เป็นโปรแกรมวาดภาพแบบเวกเตอร์ (Drawing)
@@@
5. Math เป็นโปรแกรมพิมพ์สมการคณิตศาสตร์ (Equation)
@@@
ปลาดาว ออฟฟิศ (Pladao office) จึงเป็นทางออกของผู้ใช้ซอฟต์แวร์ออฟฟิศในภาวะคุมเข้มของกฎหมายลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในเมืองไทย ด้วยความสามารถในการใช้ภาษาไทยได้ และมีโปรแกรมหลักหลาย ตัวที่มีคุณลักษณะคล้ายกับโปรแกรมสำนักงานอย่าง Microsoft Office และสามารถดาวน์โหลดได้ ฟรีพร้อมกับติดตั้งได้ทุกเครื่องทุกแพลตฟอร์ม


แหล่งที่มา :

การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์



การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์





การเลือกซื้ออุปกรณ์ให้เหมาะสมตามลักษณะงานที่ใช้

ด้วยเงินเพียงไม่ถึง 2 หมื่นบาท จะเลือกซื้อคอมพิวเตอร์เครื่องไหนก็ได้ โดยไม่ต้องคิดอะไรมากนักแต่เงินเป็นหมื่นนั้นก็ไม่ใช่น้อยสำหรับใครหลายคน อีกทั้งเทคโนโลยีต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องรู้ถึงวิธีการเลือกซื้อที่ถูกต้องและเหมะสมตรงกับลักษณะงานที่จะนำไปใช้ และพร้อมสำหรับทำงานร่วมกับอุปกรณ์ใหม่ๆ ที่จะตามมาในอนาคต โดยที่ไม่ต้องอัพเกรดหรือซื้อเครื่องใหม่ก่อนเวลาอันควร เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าที่สุด ดังนั้นเมื่อตั้งใจว่าจะหาซื้อคอมพิวเตอร์ซักเครื่องมาใช้งาน สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ ถามตัวเองก่อนว่าต้องการนำเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นไปใช้งานอะไรเป็นหลัก เช่น ใช้เล่นเกมส์ , ใช้ออกแบบงานกราฟิกประเภทสื่อสิ่งพิมพ์หรือสื่อโฆษณาต่างๆ, ใช้ออกแบบงานกราฟิกขั้นสูงประเภทที่ต้องแสดงผลในรูปแบบ 3 มิติ หรืองาน 3D Animation, ใช้ตัดต่อหนังหรือไฟล์ภาพยนตร์, ใช้ดูหนัง ฟังเพลงแบบธรรมดาหรือระดับโฮมเธียเตอร์, ใช้พิมพ์งานเอกสารและงานในสำนักงานต่างๆ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปอย่าง Microsoft Office หรือใช้ท่องอินเทอร์เน็ตเพียงอย่างเดียว เป็นต้น ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างของลักษณะงานแต่ละแบบเพื่อค้นหาเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับแต่ละประเภท


ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่วางขายอยู่ตามท้องตลาด

เครื่องคอมพิวเตอร์ที่วางขายอยู่ตามท้องตลาด โดยทั่วไปจะสามารถแบ่งออกได้กว้างๆ เป็น 2 ประเภท คือ คอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อ (Brand) ที่นิยมขายเป็นชุด (Computer Set) กับแบบเลือกซื้อชิ้นส่วนแต่ละชิ้นแล้วจ้างหรือประกอบเป็นชุดขึ้นเอง จริงๆ แล้วทั้ง 2 แบบก็ใช้งานได้ดีเหมือนๆ กัน อุปกรณ์ภายในก็ไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ต่างกันตรงที่แบบแรกนั้นประกอบเสร็จมาแล้วจากโรงงานพร้อมใช้งานได้เลย กับแบบที่ 2 ต้องเลือกซื้อหาชิ้นส่วนให้ครบก่อนแล้วจำนำมาประกอบเองหรือจ้างประกอบ โดยจะสามารถใช้งานได้ทันทีเลยหลังจากประกอบเสร็จแล้ว หรือไม่ก็ขึ้นกับขั้นตอนการประกอบและความสมบูรณ์ของตัวอุปกรณ์


คอมพิวเตอร์แบบมียี่ห้อที่นิยมขายเป็นชุด (Computer Set)

เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการความสะดวกไม่ต้องมาจุกจิกกวนใจเรื่องการเลือกซื้อชิ้นส่วนอุปกรณ์มากนัก โดยทั่วไปเวลาไปซื้อคอมพิวเตอร์แบบนี้ จะมีรายละเอียดสเปคของเครื่องอย่างคร่าวๆ ให้ดู เช่น ใช้ซีพียูรุ่น, ความเร็วเท่าไหร่, RAM ชนิดอะไร, Hard Disk ความจุเท่าไหร่ และอื่นๆ รวมถึงของแถมว่ามีอะไรบ้าง
คอมพิวเตอร์ยี่ห้อต่างๆ ที่มีวางขายอยู่ทั่วไปในบ้านเรา เช่น ยี่ห้อ Acer, HP, Lenovo, SVOA, VZiO, Supreme, SPIRIT และ ITRON เป็นต้น


คอมพิวเตอร์แบบเลือกซื้อชิ้นส่วนเพื่อนำมาจ้างหรือประกอบเอง

คอมพิวเตอร์แบบนี้จะเหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ต้องการความพิถีพิถันในการเลือกชิ้นส่วนอุปกรณ์ที่จะนำมาประกอบเป็นตัวเครื่องทั้งหมดได้ด้วยตัวเอง เพื่อให้ได้เครื่องที่มีสเปคตรงตามความพอใจของเรามากที่สุดซึ่งในการเลือกซื้อนั้นอันที่จริงผู้ใช้ควรจะต้อมีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับเรื่องของชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์อยู่บ้าง แต่ปัจจุบันนี้ถึงแม้ไม่ชำนาญ ทางร้านก็จะมีบริการเลือกและจัดชุดคอมพิวเตอร์ให้เสร็จสรรพเรียบร้อย เพียงแต่ผู้ซื้อบอกความต้องการให้ทางร้านรู้เพียงเล็กน้อยว่าต้องการอย่างไร พร้อมทั้งบอกจำนวนเงินที่ผู้ซื้อตั้งงบไว้ แค่นี้ทางร้านก็จะแนะนำอุปกรณ์ต่างๆ ให้ผู้ซื้อเลือก หรือถ้าให้ง่ายกว่านั้นทางร้านก็จะเลือกและจัดชุดคอมพิวเตอร์ให้ตามงบที่ผู้ซื้อตั้งไว้


การเลือกซื้อซีพียู (CPU)

ถือได้ว้าเป็นชิ้นส่วนที่ต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในการตัดสินใจเลือกซื้ออยู่มากทีเดียว เพราะเป็นชิ้นส่วนที่มีการพัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และมีผลต่อการเลือกซื้อชิ้นส่วนที่สำคัญอีกตัวหนึ่งด้วย นั่นก็คือเมนบอร์ด อุปกรณ์ทั้ง 2 ชิ้นรวมกันราคาก็แพง เพราะฉะนั้นถ้าคิดจะเปลี่ยน เช่น คิดจะเปลี่ยนซีพียูจาก Athlon ของ AMD ไปใช้ Core 2 Duo ของ Intel แล้วก็ต้องเปลี่ยนเมนบอร์ดตัวใหม่ด้วย ดังนั้นก่อนที่เราคิดจะซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ซักเครื่อง หรือคิดจะซื้ออุปกรณ์และชิ้นส่วนต่างๆ มาจ้างหรือประกอบเองก็ตาม สิ่งแรกที่เราจะต้องตัดสินใจเลือกให้ได้ก่อนอื่นเลยนั่นก็คือยี่ห้อของซีพียูที่เราจะนำมาใช้ จากนั้นจึงค่อยเลือกรุ่นและความเร็ว รวมถึงราคาที่เหมาะสม ปัจจุบันมีบริษัทผู้ผลิตซีพียูสำหรับเครื่องพีซีที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไปหลักๆ มีอยู่ 2 บริษัท คือ Intel และ AMD

Intel หรือ AMD

ก่อนที่จะเลือกรุ่นของซีพียู สิ่งแรกที่จะต้องเลือกก็คือ Intel หรือ AMD ซึ่งเป็นอันดับแรกที่จะต้องตัดสินใจก่อนที่จะเลือกองค์ประกอบอื่นๆ ต่อไป ชื่อเสียงของ Intel คงเส้นคงวามาตลอด แต่ก็ถูก ส่วน AMD แซงไปในช่วงของ 64 บิต และ Dual Core ที่ AMD ออก Athlon 64 X2 มาก่อน ซึ่งเป็นซีพียูที่มีประสิทธิภาพดีและไม่มีปัญหาเรื่องความร้อน แต่อย่างไรก็ตามวันที่ Intel ออก Core 2 Duo มาก็ทำให้สถานการณ์พลิกกลับไปเป็นว่าซีพียูของ Intel มีความเร็วสูงสุดในการประมวลผลแทบทุกอย่าง ซึ่งในที่สุด AMD ก็ยังคงใช้กลยุทธ์ของการตัดราคาเพื่อให้ซีพียูของ AMD มีราคาต่อประสิทธิภาพ (Price / Performance) ต่ำที่สุดเสมอ

สรุป


เลือก AMD ถ้าต้องการประสิทธิภาพที่คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป และเลือก Intel ถ้าสนใจเรื่องชื่อยี่ห้อหรือไม่ให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพใดๆ


การเลือกซื้อเมนบอร์ด (Mainboard)


ปัจจัยการเลือกซื้อ Main board (เมนบอร์ด) นั้น ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับการเลือกใช้อุปกรณ์ที่คุณต้องการนำมาใช้งานเป็นหลักโดยส่วนที่สำคัญมากในการ เลือก Main board (เมนบอร์ด) นั่นก็คือ ซีพียูนั่นเองครับ ยกตัวอย่างถ้าคุณต้องการใช้งานซีพียูของทางค่าย AMD ไม่ว่าจะเป็น Athlon XPหรือ Duron ก็ตามคุณก็ต้องเลือกซื้อ Main board (เมนบอร์ด) ที่รองรับการ ทำงานของซีพียูที่เป็นแบบ Socket A หลังจากนั้นก็เป็นในส่วนของหน่วยความจำว่าจะเลือกใช้แบบไหน DDR-SDRAMหรือ SDRAM ( DDR SDRAM เพื่ออนาคตที่สดใสกว่า)หรืออาจจะใช้ทั้ง DDR-SDRAM และ SDRAM ก็ได้คุณก็ต้องเลือกซื้อ Main board (เมนบอร์ด) ที่สนับสนุนการทำงานกับหน่วยความแบบดังกล่าว เป็นต้น ใน Main board (เมนบอร์ด) บางรุ่นจะนำระบบเสียงหรือระบบประมวลผลภาพ(VGA)ไว้ในตัว ดังนั้น คุณอาจไม่จำเป็นต้องเลือกซื้ออุปกรณ์ทั้งสองประเภทนี้ ในขณะที่ Main board (เมนบอร์ด) บางรุ่นก็จะรวมเอา LAN (local area network) ไว้ในตัวด้วย ทำให้คุณไม่ต้องเสียเงินซื้อการ์ดเน็ตเวิร์กสำหรับใช้ท่องโลกอินเทอร์เน็ต (เหมาะสำหรับ ผู้ที่มีงบซื้อจำกัด) แต่ถ้าใน Main board (เมนบอร์ด) ที่คุณเลือกซื้อไม่มีอุปกรณ์ดังที่กล่าวในตัว คุณก็จำต้องจ่ายเงินเพิ่ม เพื่อซื้ออุปกรณ์ต่างๆ เหล่านั้นทีหลัง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ ราคาแล้วบางทีก็แพงกว่าการซื้อแบบรวมเสียอีกแต่ประสิทธิภาพจะไม่ดีเท่ากับอุปกรณ์ที่แยกชิ้นประกอบอย่างไรก็ตามเมื่อจะ ซื้อ Main board (เมนบอร์ด) ให้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ ของคุณแล้วก็ต้องดูให้ระเอียดกันหน่อย อย่านิยมเลือกเอาแต่ประหยัดอย่างเดียว การใช้งานคอมพิวเตอร์สำคัญที่สุด ถึงแม้เมนบอร์ดจะเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สำคัญ แต่ราคาของเมนบอร์ดนั้นไม่ได้มีราคาแพงมากมายนักรวมถึงยังมีให้เลือกใช้มากมายหลายรุ่นตามความเหมาะสมของผู้ใช้ โดยเมนบอร์ดราคาประหยัดเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณพันกว่าบาท และไต่ระดับไปถึงช่วงราคาสำหรับกลุ่มผู้ใช้งานระดับกลางที่ 3,000-5,000 บาท หลังจากนั้นถือเป็นราคาสำหรับผู้ใช้งานระดับสูงที่ราคาสูงทะลุหมื่นบาทไปเลยทีเดียว โดยบริษัทผู้ผลิตเมนบอร์ดที่ได้รับความนิยม หรือพูดง่ายๆ ก็คือแบรนด์เนมของเมนบอร์ดติดตลาดผู้ซื้อ ก็เห็นจะมี ASUS, ABIT, GIGABYTE , MSI, ASROCK คุณสมบัติที่สำคัญของเมนบอร์ดในปัจจุบันที่ต้องพิจารณาก่อนทำการเลือกซื้อนั้นนอกเหนือจากราคาที่ผู้ใช้ต้องเป็นผู้กำหนด อาทิ ความยืดหยุ่นในการรองรับการทำงานของระบบฮาร์ดแวร์ เทคโนโลยีที่สนับสนุนการทำงาน ช่องสัญญาณในการรองรับการใช้งาน อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ ที่มาพร้อมกับตัวเมนบอร์ด ทางที่ดีควรจะมีเอาไว้ก่อน และที่สำคัญนั้นก็คือการรับประกันที่คุณมิควรมองข้ามนั่นเอง


การเลือกซื้อชุดระบายความร้อนกับซีพียู

สิ่งสำคัญที่ควรคำนึงถึงในการเลือกซื้อชุดระบายความร้อนให้กับซีพียู ซึ่งประกอบด้วย พัดลมระบายความร้อน และฮีตซิงค์ ก็คือ วัสดุที่ใช้ทำฮีตซิงค์, การออกแบบครีบระบายความร้อน, ความเร็วรอบในการหมุนของพัดลมซีพียู และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ เป็นรูปแบบที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับซีพียู และซ็อคเก็ตแบบใด ซึ่งแต่ละแบบไม่เหมือนกัน


การเลือกซื้อหน่วยความจำ (RAM)



RAM เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง ซึ่งจะต้องใช้ความละเอียดรอบคอบในการเลือกซื้ออยู่พอสมควร เนื่องจาก RAM เป็นอุปกรณ์ที่จะต้องทำงานร่วมกับซีพียูอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด จึงจำเป็นจะต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่างในการพิจารณาเลือกซื้อ เพื่อให้เหมาะสมสำหรับซีพียูและเมนบอร์ดที่ใช้ และยังควรคำนึงถึงคุณสมบัติต่างๆ ของRAM ได้แก่ ชนิดของ RAM, ขนาดความจุของ RAM, ความเร็วบัสของ RAM และการรับประกันอีกด้วย


การเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)


ปัจจุบันฮาร์ดดิสก์มีขายกันอยู่มากมายหลายยี่ห้อ เช่น HITACHI, Samsung, Seagate และ Western Digital เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่เป็นที่นิยมทั้งสิ้น ดังนั้นนอกจากปัจจัยในเรื่องของราคาและยี่ห้อแล้วนั้นคุณสมบัติและข้อควรพิจารณาในการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์มีดังนี้ ได้แก่ ความจุของข้อมูล, ความเร็วรอบในการหมุน, อินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์, ขนาดของบัฟเฟอร์ และการรับประกันอีกด้วย


การเลือกซื้อการ์ดแสดงผล (VGA Card)


ปัจจุบันการ์ดแสดงผลมีออกมาหลายรุ่น หลายยี่ห้อ หลายราคา และหลากหลายประสิทธิภาพแตกต่างกันออกไป ซึ่งผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จที่แท้จริงของเหล่าบรรดาการ์ดแสดงผลทั้งหลายนั้นก็คือ ผู้ผลิตชิปประมวลผลกราฟิกนั่นเอง ซึ่งมีอยู่แค่ 2 รายคือ NVidia ผู้ผลิต GeForce ที่หลายคนรู้จักกันดีกับ ATI (ที่ปัจจุบันเป็นของ AMD) ผู้ผลิตชิปตระกูล Radeon ที่เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวของ NVidia นั่นเอง ในการพิจารณาเลือกซื้อการ์ดแสดงผล นอกจากปัจจัยทางด้านราคาแล้วยังควรพิจารณาดังต่อไปนี้ ได้แก่ ชิปประมวลผลกราฟิก, อินเตอร์เฟสของการ์ด, ชนิดและขนาดของหน่วยความจำบนตัวการ์ด, พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ และมาตรฐานของ API ที่รอบรับ เป็นต้น


การเลือกซื้อการ์ดเสียง (Sound Card)

คอมพิวเตอร์ถ้าหากมีภาพแต่ไม่มีเสียงก็ดูจะไม่ได้รับความบันเทิงที่สมบูรณ์ แต่ถ้าหากภาพดี แต่เสียงที่ได้ไม่ค่อยมีคุณภาพ อรรถรสในความบันเทิงก็จะดูจะขาดหายไป ทำให้การ์ดเสียงจึงเป็นอุปกรณ์ที่จะขาดเสียมิได้ ดังนั้นในการพิจารณาเลือกซื้อนอกเหนือจากเรื่องของยี่ห้อและราคาแล้วก็ควรจะต้องคำนึงถึงปัจจัยและคุณสมบัติต่างๆ ได้แก่ รูปแบบของการ์ดเสียง, ลักษณะงานที่จะนำไปใช้ และคุณสมบัติอื่นๆ เพิ่มเติม เป็นต้น


การเลือกซื้อลำโพง (Speaker)



ลำโพงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับการ์ดเสียง เป็นตัวแปรที่สำคัญมากเพื่อให้ได้รับความบันเทิงทางด้านเสียงที่สมบูรณ์แบบเพราะเมื่อมีการ์ดเสียงแล้ว ก็จำเป็นต้องมีลำโพงที่มีคุณภาพด้วยเป็นของคู่กัน หลักสำคัญในการพิจารณาเลือกซื้อลำโพง ได้แก่ รูปแบบของลำโพง และกำลังขับหรือกำลังขยายเสียงของลำโพง เป็นต้น


การเลือกซื้อไดรว์ซีดีรอม และไดรว์ดีวีดี

หลักสำคัญในการเลือกซื้อไดรว์ดีวีดีอาร์ดับบลิวมีดังนี้ ได้แก่ ความเร็ว, ขนาดของบัฟเฟอร์
คุณสมบัติ Dual Format, คุณสมบัติ Dual Layer หรือ Double Layer และเทคโนโลยีที่ช่วยในการเขียนแผ่น เป็นต้น


การเลือกซื้อจอภาพ



จอภาพหรือจอแสดงผล เป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่เราจะต้องติดต่อหรือเกี่ยวข้องอยู่ตลอดเวลาผ่านทางดวงตาที่มีอยู่เพียงคู่เดียวของเรา ดังนั้นในการเลือกใช้จอภาพให้เหมาะสมกับงานและสุขภาพของดวงตาก็เป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องทำควบคู่กันไปด้วย ดังนั้นหลักสำคัญหรือปัจจัยที่จะต้องนำมาพิจารณาเลือกซื้อจอภาพให้เกิดความคุ้มค่าและเหมาะสมมีดังนี้ ได้แก่ ชนิดของจอภาพ, ขนาดของจอภาพ, ความละเอียดของการแสดงผล (Resolution), อัตราการรีเฟรช (Refresh Rate), ระยะ Dot Pitch, ความสว่างบนหน้าจอ (Brightness), อัตราส่วนของความคมชัดของภาพ (Contrast Ratio) และขอบเขตของมุมมองในการมองภาพ (Viewing Angle) เป็นต้น


การเลือกซื้อการ์ดแลน (LAN Card)

การ์ดเน็ตเวิร์ก หรือการ์ด LAN (Network Interface Card NIC) เป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นในการเชื่อมต่อพีซีหลายๆ เครื่องเข้าด้วยกันเป็นระบบเครือข่าย (Network) โดยมากมักเชื่อมต่อกันด้วยสายเคเบิล การพิจารณาเลือกซื้อการ์ด LAN เพื่อนำมาเชื่อมต่อกับเครื่องอื่นๆ ในระบบเครือข่ายนั้น นอกเหนือจากเรื่องของยี่ห้อและราคาแล้วสิ่งที่ควรจะต้องคำนึงถึงมีดังนี้ ได้แก่ รูปแบบของการ์ด LAN และอัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลและความเหมาะสมกับลักษณะของงานที่จะนำไปใช้ เป็นต้น


การเลือกซื้อการ์ด Wireless LAN และ Access Point




เครือข่ายแบบไร้สายหรือ Wireless LAN (เรียกสั้นๆ ว่า “WLAN”) เป็นเครือข่ายที่อาศัยคลื่นวิทยุ (Radio Frequency) ในการรับส่งข้อมูล โดยเครื่องที่ติดตั้งการ์ด Wireless LAN ไว้จะรับส่งข้อมูลกับตัวรับหรือที่เรียกว่า Access Point ที่ต่อด้วยสาย LAN ธรรมดาเข้ากับเครื่องอื่นๆ อีกทอดหนึ่ง เกณฑ์ในการเลือกซื้อการ์ด Wireless LAN และ Access Point ได้แก่ มาตรฐานและอัตราความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่ใช้ เป็นต้น


การเลือกซื้อ Modem ADSL / ADSL Router / ADSL Wireless Router


Modem เป็นอุปกรณ์สำหรับการสื่อสารข้อมูล ทั้งการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต รับส่งแฟกซ์ และอื่นๆ เป็นต้น หลักเกณฑ์ทั่วไปในการพิจารณาเลือกซื้อ Modem ทั้งแบบ Analog Modem และแบบ ADSL Modem โดยรวมๆ แล้วก็คล้ายๆ กัน มีดังนี้ ได้แก่ รูปแบบของ Modem และมาตรฐานความเร็วที่ใช้ เป็นต้น


การเลือกซื้อเคส (Case)



นอกจากเรื่องของรูปลักษณ์ภายนอกของตัวเคสที่ถูกออกแบบมาอย่างสวยงามและถูกใจเราแล้วข้อควรคำนึงถึงอื่นๆ ในการเลือกซื้อเคสที่เหมาะสม คือ
· พยายามเลือกที่ภายในดูโปร่ง กว้าง และสามารถถ่ายเทอากาศได้ดี มีช่องที่เอาไว้ติดตั้งพัดลมเพิ่มเติมภายหลังได้ หรือเคสที่มีพัดลมติดมาด้วย
· มีการออกแบบฝาเคสที่ดูแล้วสามารถเปิด – ปิดได้ง่าย เช่น ใช้สกรูแบบมือหมุน เป็นต้น
· เพื่อให้ง่ายและสะดวกในการประกอบเครื่อง แท่นรองเมนบอร์ดภายในเคสควรจะถอดออกได้
· ช่องเสียบอุปกรณ์จำพวกไดรว์ต่างๆ ควรจะออกแบบมาดี เช่น มีรางสำหรับรองไดรว์ต่างๆ ให้เลื่อนเข้า – ออก ได้อย่างสะดวก โดยไม่ต้องขันสกรูยึดกับตัวไดรว์โดยตรง เป็นต้น
· ฝาเคสด้านหน้าอาจจะปิด – เปิดได้ เพื่อความเรียบร้อย สวยงาม และความสะอาด
· มีพอร์ตต่างๆ เพิ่มเติมมาให้ที่ด้านหน้าหรือด้านข้างของตัวเคส เช่น USB และ Line Out Jack เป็นต้น เพื่อความสะดวกในการใช้งาน
· ตัวเครื่องภายนอกอาจจะออกแบบมาให้มีที่จับเพื่อความสะดวกในการเคลื่อนย้าย
· พยายามเลือกเคสที่ใช้วัสดุที่ทำมาจากพลาสติก และมีโครงสร้างภายในที่แข็งแรง มีการแต่งขอบโลหะอย่างเรียบร้อยไม่บาดมือ


การเลือกซื้อเพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)

ข้อควรคำนึงในการเลือกซื้อ Power Supply ที่เหมาะสม คือ
· เลือก Power Supply ที่ถูกต้องกับชนิด และความต้องการของเมนบอร์ด
· กำลังไฟ (วัตต์) หรือกำลังไฟสูงสุดที่ Power Supply สามารถจ่ายให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ได้เป็นสิ่งสำคัญในการเลือกซื้อ ให้พิจารณาจากจำนวนอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์, ซีดีรอมไดรว์, ฟล็อปปี้ดิสก์ไดรว์, อุปกรณ์ต่อพ่วงผ่านทางพอร์ต USB และอื่นๆ ซึ่งถ้ากำลังไฟมากพอก็จะทำให้เครื่องมีเสถียรภาพในการทำงาน และสามารถจ่ายไฟให้หับอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นจึงแนะนำรุ่นที่ให้กำลังไฟตั้งแต่ 350 วัตต์ ขึ้นไป (ยิ่งถ้าเป็นเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ ที่ทำงานร่วมกับซีพียูรุ่นใหม่ๆ ถ้าเลือกตั้งแต่ 450 วัตต์ ได้ก็ยิ่งดี)


การเลือกซื้อ UPS

การเลือก UPS จะมีในเรื่องของขนาด ซึ่งจะต้องสัมพันธ์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ซึ่งโดยทั่วไปควรจะอยู่ที่ประมาณ 500 – 800 VA กับประเภทของ UPS ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้แบบ Line Interactive UPS ที่มีราคาถูกและเพียงพอสำหรับระบบไฟฟ้าที่ค่อนข้างเสถียร แต่ถ้าหากใช้งานคอมพิวเตอร์ในพื้นที่ที่ระบบไฟฟ้ามีปัญหาบ่อย หรือระดับแรงดันไม่ค่อยคงที่ ควรเลือกใช้ประเภท True – Online และจ่ายไฟได้อย่างน้อย 1 KVA (1000 VA) โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าใช้กับเครื่องที่ทำหน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์


การเลือกซื้อเครื่องพรินเตอร์ (Printer)


พรินเตอร์เป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงที่สำคัญสำหรับงานพิมพ์ต่างๆ ปัจจุบันพบเห็นได้ทั่วไป เพราะราคานั้นถูกลงมาก เพราะฉะนั้นพรินเตอร์ก็ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป หลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อเครื่องพรินเตอร์มีดังนี้ ได้แก่ ประเภทของเครื่องพรินเตอร์และความเหมาะสมกับลักษณะของงานที่จะนำไปใช้, ความละเอียดในการพิมพ์ (dpi), ความเร็วในการพิมพ์ดำ / สี (ppm), ขนาดของบัฟเฟอร์ และราคาหมึกพิมพ์


การเลือกซื้อเครื่องสแกนเนอร์ (Scanner)
สแกนเนอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการ “อ่าน” หรือ Scan คือ ถ่ายภาพจากกระดาษหรือวัตถุแบนๆ เข้าไปในเครื่อง โดยใช้แสงส่องกระทบวัตถุให้สะท้อนไปตกบนตัวรับแสงทีละแถว ข้อมูลจะถูกแปลงเป็นจุดเล็กๆ ในระบบดิจิตอลเข้าไปเก็บในเครื่องพีซี เมื่อต้นกำเนิดแสงและตัวรับแสงเลื่อนไป ภาพที่ได้ก็จะเป็นจากส่วนต่างๆ ของรูปต่อเนื่องกันไปทีละแถวของจุดจนกว่าจะสุดภาพ หลักเกณฑ์ในการเลือกซื้อเครื่องสแกนเนอร์ ได้แก่ ความละเอียด (Resolution) ในการสแกนภาพ เป็นต้น



แหล่งที่มา : หนังสือคู่มือช่างคอม ฉบับสมบูรณ์ 2009
http://laptopcomputer.exteen.com/20090105/mainboard






วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สเปคคอมพิวเตอร์


สเปคอมพิวเตร์



รายละเอียดของสินค้า

· HP PAVILION M9790d (KY794AA#AKL)
· Intel Core i7 920 Quad Core
· 2.66GHz
· 320GB 3G SATA Hard Drive 7200 RPM
· Intel x58
· NVIDIA GeForce G250
· 4096MB DDR2 with 800MHz FSB SuperMulti Drice LightScribe 16X Double
layer (8.5GB)
· 15-in-1 Media card reader
· Windows Vista Home Premium
· Full-Tower
· 23” LCD with Integrated Speakers
· 6 USB 2.0
· Wireless Optical Mouse
· Multimedia Wireless Keyboard
· 1 Year



คำอธิบาย

· เป็นคอมพิวเตอร์ยี่ห้อ HP รุ่น HP PAVILION M9790d รหัส (KY794AA#AKL)
· ซีพียูรุ่น Intel Core i7 920 Quad Core
· ความถี่ของซีพียู 2.66GHz
· ฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟส SATA แบบ 3 Gbps ขนาดความจุ 320 GB ความเร็วในการหมุน 7200 รอบต่อ นาที
· ชิปเซ็ต Intel x58
· การ์ดแสดงผลของ NVIDIA รุ่น GeForce G250
· หน่วยความจำ DDR2 ขนาดความจุ 4 GB DVD Writer 16X ที่เขียนแผ่น และเขียนหน้าแผ่นแบบ LightScribe ได้
· มีช่องเสียบที่รองรับการ์ดหน่วยความจำชนิดต่างๆ 15 แบบ
· ซอฟต์แวร์ Windows Vista เวอร์ชั่น Home Premium
· ประเภทของเคสเป็นแบบ Full – Tower
· จอแสดงผล LCD ขนาด 23 นิ้ว พร้อมลำโพงในตัว
· ช่องเสียบ USB 2.0 จำนวน 6 ช่อง
· เมาส์แสงแบบไร้สาย
· คีย์บอร์ดไร้สาย มีปุ่มเล่นสื่อต่างๆ
· รับประกัน 1 ปี



แหล่งที่มา :

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

Bandwidth

Bandwidth





Bandwidth เป็นการส่งผ่านสัญญาณสื่อสารเป็นการวัดช่วงความถี่ ที่สัญญาณใช้งาน คำนี้สามารถใช้อ้างถึงคุณลักษณะการตอบสนองความถี่ ของระบบรับการสื่อสาร ของสัญญาณทุกประเภท คือ ทั้งแบบ อะนาล็อก และ ดิจิตอล

ในความหมายทั่วไป Bandwidth เป็นสัดส่วนโดยตรงของจำนวนข้อมูลทั้งหมดที่ส่งผ่าน หรือรับต่อหน่วยเวลา ในความหมายเชิงคุณภาพ Bandwidth เป็นสัดส่วนของความซับซ้อนของข้อมูล สำหรับการทำงานของระบบที่รองรับได้ เช่น การ Download ไฟล์ทุกประเภทรูปภาพในหนึ่งวินาทีใช้ Bandwidth มากกว่าการ Download ข้อความในเวลาหนึ่งวินาที ไฟล์ประเภทเสียงขนาดใหญ่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และภาพเคลื่อนไหวต้องใช้ Bandwidth มาก การนำเสนอแบบ Virtual reality (VR) และ ภาพแบบ 3 มิติ ชนิด Full-length ใช้ Bandwidth มากที่สุด
ในระบบดิจิตอล Bandwidth คือความเร็วข้อมูลเป็น bits per second (จำนวนบิตต่อวินาที) ดังนั้นโมเด็มซึ่งทำงานที่ 57,600 bps จะมี Bandwidth เป็น 2 เท่าของ โมเด็ม ซึ่งทำงานที่ 28,800 bps ในในระบบอะนาล็อก ความหมายของ Bandwidth หมายถึงความแตกต่างระหว่างความถี่สูงสุดและต่ำสุดของสัญญาณ มีหน่วยวัดเป็น hertz สัญญาณเสียงมี Bandwidth ประมาณ 33 kilohertz (33 KHz) และการกระจายภาพของโทรทัศน์แบบอะนาล็อก ใช้สัญญาณวิดีโอ ซึ่งมี Bandwidth ประมาณ 6 megahertz (6 MHz)


Bandwidth เป็นคำที่ใช้วัดความเร็วในการส่งข้อมูลของอินเทอร์เน็ต ซึ่งโดยมากเรามักวัดความเร็วของการส่งข้อมูลเป็น bps (bit per second) , Mbp (bps*1000000) เช่น Bandwidth ของการใช้สายโทรศัพท์ในประเทศไทย เท่ากับ 14.4 Kbps,Bandwidth ของสายส่งข้อมูลของ KSC ที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับอเมริกาเท่ากับ 2 Mbps เป็นต้น แต่ก่อนที่เราจะเข้าสู่บทความมารู้จักก่อนว่าอะไรคือ Bandwidth และ Latency ความหมาย Bandwidth คือ ความกว้างของช่องทางในการรับ-ส่งข้อมูล ส่วน Latency คือ เวลาที่ใช้ไปในการเข้าถึงข้อมูลของหน่วยความจำ เมื่อเรารู้ความหมายกันแล้วคราวนี้เรามารู้จักถึงหลักการต่างๆ ของ Bandwidth และ Latency ในการพิจารณาการรับ-ส่งข้อมูลบนระบบบัสหลายคนมักจะนึกถึง Bus Bandwidth (Bandwidth ก็คือความกว้างของเส้นทางในการส่งข้อมูล ที่เราสามารถเปรียบเทียบได้กับเลนถนน ยิ่งมีเลนกว้างเท่าไรรถยนต์ซึ่งเปรียบได้กับข้อมูลก็สามารถวิ่งได้สะดวกมากขึ้นเท่านั้น) ที่ใช้ในการรับ-ส่งข้อมูล ซึ่งพิจารณาจากข้อมูลที่รับ-ส่งบนระบบบัส Bus Bandwidth ด้วยปริมาณจำนวนข้อมูลของเลข single number (0 หรือ 1) ที่ระบบบัสสามารถรองรับได้ แต่ปริมาณข้อมูลของเลข single number อาจแปรผันได้ตามเวลา เราจึงพิจารณาการรับ-ส่งข้อมูลผ่านทาง Bus Bandwidth ด้วย Peak bandwidth Bus หรือ ความกว้างสูงสุดในการรับ-ส่งข้อมูลของบัส ซึ่งวัดด้วยจำนวนข้อมูลสูงสุดที่ รับ-ส่งกันระหว่างซีพียูและแรมภายในหนึ่งคาบเวล จากความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียูจากรูปที่ 1 ถ้าเรามาคำนวณหา Bandwidth ของบัสที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียู ที่สัญญาณนาฬิกา 100 เมกะเฮิรตซ์ โดยที่มีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวน 8 ไบต์ในแต่ละหนึ่งรอบของสัญญาณนาฬิกา จะคำนวณออกมาได้ดังนี้ 8 bytes * 100MHz = 800 MB/s และถ้าหากเราคำนวณหา Bandwidth ของบัสที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิการะหว่างหน่วยความจำและซีพียูที่ 133 เมกะเฮิรตซ์ โดยที่มีการรับ-ส่งข้อมูลจำนวน 8 ไบต์ในแต่ละหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา จะคำนวณออกมาได้ดังนี้ 8 bytes * 133MHz = 1064 MB/s ซึ่งตัวเลข Bandwidth ที่ได้นี้เป็นพียงตัวเลขทางทฤษฎีที่บอกถึงปริมาณของข้อมูลที่เข้าสู่ซีพียูในแต่ละวินาที ในความเป็นจริง Bandwidth ของระบบจริงอาจมีค่าน้อยกว่าที่คำนวณเพียงเล็กน้อย




Bandwidth ในทางปฏิบัติ

ระบบบัสที่ผ่านมาจะมีลักษณะการส่งผ่านข้อมูลแบบทางเดียว จึงทำให้ไม่สามารถรับและส่งข้อมูลในเวลาเดียวกัน จึงต้องผลัดกันส่งและรับข้อมูลทำให้ความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลช้า เปรียบเทียบระบบบัสได้กับการสื่อสารผ่านทางวิทยุรับส่งโดยที่อีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายพูดอีกฝ่ายจะต้องเป็นผู้รับฟัง เนื่องจากต้องผลัดกันรับส่งข้อมูลดังนั้นเมื่อซีพียูต้องการร้องข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก (RAM) ซีพียูจะต้องร้องขอผ่านทาง Bus Control จากนั้น Bus Control จะร้องขอข้อมูลมาที่หน่วยความจำหลัก (RAM) เมื่อค้นหาข้อมูลที่ซีพียูต้องการได้แล้ว หน่วยความจำหลักจะส่งต่อข้อมูลให้ Bus Control กลับไปให้ซีพียู โดยทั้งหมดนี้กระทำบนบัสเดียวกัน ถ้าพิจารณาเวลาที่สูญเสียไปจากการร้องขอข้อมูลจาก Bus Control และที่ต้องเสียเวลารอหน่วยความจำหลักค้นหาข้อมูลที่ซีพียูต้องการแล้วจึงส่งข้อมูลที่ต้องการกลับไปสู่ Bus Control และส่งกลับไปสู่ซีพียูได้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะเป็น Delay Time ที่มีผลต่อค่า Read Latency โดยที่ Read Latency หมายถึง เวลาที่ใช้ระหว่างการร้องขอข้อมูลจากซีพียูผ่านทาง Frontside Bus (FSB)

ข้อมูลที่นับเป็น Bandwidth มีดังต่อไปนี้ครับ

1.) Website

2.) E-Mail

3.) Ftp

4.) DirectAdmin

Bandwidth มีหน่วยเป็น Byte เช่นกัน แต่ส่วนใหญ่ จะมีระดับตั้งแต่ Megabyte ขึ้นไป ในส่วนของ Bandwidth จะแบ่งเป็น Local Bandwidth และ Inter Bandwidth ซึ่งตรงนี้ต้องดูให้ชัดเจนครับ ตามปกติแล้วผู้ให้บริการที่เป็น Data Center จะทำการสร้าง Link เข้าไปเชื่อมต่อกับ ISP ( Internet Service Provider ) ซึ่งจะซื้อได้ในแต่ละ ISP ในปริมาณที่ต่าง ๆ กัน มองให้ง่าย ๆ ก็คือ ตัว IDC หรือ Data Center พยายามสร้างท่อเพื่อการส่งข้อมูลไปยัง ISP ต่าง ๆ นั้นหมายความว่า หาก IDC ได้สร้างท่อที่มีขนาดใหญ่ ก็จะทำให้การเรียกชมเว็บไซต์ ไม่มีข้อติดขัดมากนัก แต่หากท่อเล็ก ย่อมมีปัญหาที่เกี่ยวพันกับเรื่องของ Traffic นั้นคือ ในช่วงเวลาใด ๆ ก็ตามที่มีการเรียกข้อมูลมาก ๆ จากหลาย ๆ Client (ผู้ใช้บริการเว็บไซต์ของคุณ) เมื่อปริมาณ Traffic สูงมากในช่วงวินาทีนั้น จนเต็ม Bandwidth แล้ว ก็จะไม่สามารถเรียกข้อมูลจาก Server ผ่าน ISP นั้นได้เลย

สรุป ทฤษฎีของ Bandwidth นั้นได้ว่า ถ้าระบบบัสมี Bandwidth ที่กว้างก็ยิ่งจะดีต่อการรับ-ส่งข้อมูล




แหล่งที่มา : http://www.bcoms.net/dictionnary/detail.asp?id=32
http://www.sumbydesign.net/bbs/viewthread.php?tid=683
http://www.vcharkarn.com/vcafe/147552